รู้ทันราคาเหล็ก ไม่เจ็บตัว Ep.1
“STEEL NEVER GROW ON TREE”
โดยความหมายก็คือเหล็กไม่ได้งอกขึ้นมาเองได้ เหมือนผลิตผลทางการเกษตร
ราคาเหล็กซึ่งเป็นไปตามหลัก Supply - Demand จึงสามารถคาดเดาได้ง่ายกว่าสินค้าประเภทอื่น เพราะข้อมูลกำลังผลิต และการใช้งาน สามารถคาดเดาได้ง่ายกว่าสินค้าอื่นอย่างข้าว ยางพารา น้ำตาล ซึ่งยากต่อการรวมรวม
ผมจึงอยากอธิบายข้อมูล Supply - Demand ของอุตสาหกรรมเหล็กอย่างกว้างๆ เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกราคาต่อไป
1) Demand โลก ประมาณ 1,800 - 1,900 ล้านตัน ต่อปี
2) Supply โลก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- ผลผลิต (Crude output) ก็จะค่อนข้างใกล้เคียง 1,800 - 1,900 ล้านตันต่อปี
- กำลังผลิต (Capacity) โลกเรามีความสามารถในการผลิตเหล็กมากกว่าความต้องการค่อนข้างมาก ปัจจุบันกำลังผลิตที่มีอาจใช้อยู่เพียง 50% - 70%
- ประเทศจีน เป็นเจ้าของผลผลิต (Crude output) ถึงครึ่งนึงของทั้งโลก คือประมาณ 900 ล้านตันต่อปี
3) ผลผลิตมหาศาลของจีน ส่วนใหญ่ถูกใช้ภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีส่วนเกิน โดยเฉลี่ย 100 ล้านตันต่อปี ถูกส่งออกไปขายทั่วโลก
4) Demand ประเทศไทย อยู่ที่เพียง 17 - 19 ล้านตันต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตไม่สูงมากนัก
5) ปริมาณการนำเข้าเหล็กไทย ปี 2016 อยู่ที่ 17.2 ล้านตัน
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เราได้ข้อสรุปราคาเหล็กไทยดังนี้
1) ปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทย นับเป็นเพียง 1% ของทั้งโลก แทบจะเรียกได้ว่าเล็กมากจนไม่มีนัยสำคัญในตลาดโลกเลย
2) ประเทศไทยไ่ม่มีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ถลุงเหล็กใช้เองไม่ได้ เหล็กที่ใช้งานในประเทศเกือบ 100% มาจากการนำเข้าทั้งหมด ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
3) ตัวเลขแตกต่างระหว่าง Demand = 19 ล้านตัน กับ Import = 17.2 ล้านตัน เกิดจากการ Recycle เศษเหล็กในประเทศประมาณ 1.5 ล้านตัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
4) สรุป
“ราคาเหล็กในประเทศไทย ขึ้นลง ตามราคาเหล็กโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน ”
การจะคาดเดาแนวโน้มราคาเหล็กไทยได้ เราจะต้องมีความเข้าใจความสัมพันธ์ต่างๆ ของราคาเหล็กโลกเป็นอย่างดีก่อน
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง ยังมีปัจจัยแวดล้อมอีกหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อราคาเหล็กไทย อีกมาก เช่น
1) กฎหมาย AD, Safeguard หรือก็คือ มาตรการภาษีเพื่อปกป้องราคาเหล็กภายในประเทศ
2) กฎหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
3) ปริมาณสต็อค ในช่วงเวลาต่างๆ
4) สภาพคล่องในตลาด
ซึ่งผมจะมาแลกเปลี่ยนทีละหัวข้อในโอกาสต่อไป
ขอบคุณครับ
[A]